วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

We will rock you ( late review)

เมื่อวานได้ไปชมWE WILL ROCK YOU ที่โรงละครรัชดาลัยมา
ก็ไม่ได้เตรียมตัวไปมาก เพราะเพิ่งรู้ว่ามันจะหมดแล้ว กอรป กับงานก๋ค่อนข้างยุ่งตลอด
แต่ผมตั้งใจจะไปดูเรื่องนี้มากเพราะตัวเองเป็นแฟนเพลงของqueen
ซิ่ง สำหรับผมโดยส่วนตัว การไปดูครั่งนี้ถือว่าสนุกทีเดียว

เรื่องราวโดยย่อของเรื่ีองนี้(เท่าที่จำได้และเท่าที่ฟังรู้เรื่อง)
คือเป็นการพูดถึงโลกในอนาคตที่ทุกอย่างมันเหมือนกันไปทั้งหมด
ถูก Dominateโดยกลุ่มคนกลุ่มนึง ทำให้โลกมันPerfectมาก ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นบริษัทที่ชื่อว่า
Global Vision(ใช่ป่าววะ จำไม่ค่อยได้) ในขณะที่พระเอกเป็นคนที่แปลกแยกจากสังคม มักความฝันประหลาด เกี่ยวกับเพลงต่างๆที่เค้าไม่รู้จัก ส่วนนางเอกก็เป็นคนที่ชอบอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน

ทั้งสองเป็นเหมือนคนที่ต้องการความแตกต่าง โดยพระเอกเปรียบเสมือนคนที่จะมากอบกู้โลก
จากกลุ่มคนที่dominateโลก นำโดยตัวร้ายที่ชื่อ Killer Queen ท้ายสุดพระเอกจะต้องออกไปตามหา
เครื่อวดนตรีหายสาบสูญไปนาน เป็นตัวแทนแห่งดนตรีRock นั่นก็คือ guitar เพื่อกำจัดโลก
ที่สุดแสนจะperfect นั่นเอง

ก็อย่างที่เล่าไปคร่าวๆ เรื่องนี้บท ไม่ได้มีความซับซ้อน ออกจะไปทางโง่ๆ
ตรงๆ ไม่มีเหตุผล รวมถึงArt Directionของงานแสดง ตั้งแต่ เสื้อผ้า หน้าผม
ฉาก และ Graphic ก็ออกจะเห่ยๆ นึกถึงพวกหนัง
MADMAX อะไรทำนองนั้น(เป็นstyleของพวกกบฎ)
ส่วนโลกที่Perfectก็ออกจะประหลาดๆ เสร่อๆ แนวๆการมองอนาคตของคนยุค 80
การออกแบบท่าเต้นต่างๆ blocking หรืออะไรต่างๆก็ดูแสนจะธรรมดา
แต่จุดเด่นของงานแสดงนี้คงจะอยู่ที่การร้อง(ที่ผมไม่ค่อยชอบนัก เพราะมันต่างจาก
Freddieอยู่มากโข ดูแอ๊ปแบ้วและไม่แข็งแรงเท่าไหร่)
แต่ความสามารถก็ถึอว่าดีมากสำหรับงานสด
ที่สำคัญคือ Gimmic ที่มีในบท ไม่ว่าจะเป็นการล้อเลียน นักร้องต่างๆ
ก็ทำได้สนุกดี แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือการเอาเพลงQueen มาร้อยเรียงจนเป็นเรื่องราวได้
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพลงดังๆทั้งนั้น (ถ้าคุณซื้อ greatest hit 1-3 ของQueen มาฟัง
ก็แทบจะได้ฟังเพลงทั้งหมดใน Show) ซึ่งด้วยเหตุนี้ผมถึงว่าบทมันก็ควรจะเป็นอย่างงี้ดีแล้ว
คือง่ายๆโง่ๆ และเกี่ยวกับความรัก เพราะแค่เอาเพลงมาต่อกันก็ยากแล้ว ยิ่งเพลงดัง
ก็มักจะเกียวกะรักๆใคร่ๆ เสมอ (แต่ดีที่วงนี้ ไม่ได้แต่เพลงรักไปทั้งหมด
และมักจะแต่งเพลงในหลายๆมุมมอง)
ผมในฐานะแฟนเพลงQueenก็อิ่มเอมกับเพลงดังๆทั้งหลายที่มาร้อยเรียง
แม้ว่ายังอยากฟังอีกหลายเพลง บ้่างก็ไม่ได้เล่น บ้างที่มีแค่intro หรือแค่เกริ่นๆ
เช่น Bicycle Race, Flash to the rescue, Love of my live หรือ don't stop me nowซึ่งกำลังจะมันส์ ก็ต้องถูกbreak ตามบท (แต่อันนี้ผมก็ยอมรับได้ กับการวางบทของเพลง dont stop me now..มัันน่ารักดี) และยังอยากฟังอีกหลายเพลง
เช่น Play the Game หรือ You are my best friend( จิงๆเพลงนี้น่าจะหาบทลงได้นะ)
รวมทั้งเพลงในชุดหลังเช่น The Show must goes on..
....ยังดีนะที่แถๆเอา Bohemian ลงมาได้

ดูละครเรื่องนี้ไป ก็คิดถึงอ๋อมแอ๋มที่พวกเด็กนิเทศชอบทำกันไป
งานที่ผมทำ พี่ฉอดก็มันจะมีอารมณ์การเรียงเพลงแนวๆนี้อยู่เหมือนกัน
(เห็นได้จากต้องsnowkim ช่วงmedley รวมก้อนแรก)
ผมว่ามันก็น่ารักดีนะ ชวนให้คิดว่า
อยากเอาเพลงของศิลปินดังๆของไทยเช่น พี่เบิร์ด หรืออัสนี-วสันต์
มาทำshow แบบนี้ ผมว่าคงจะน่ารักดีทีเดียว

ว่าแล้วเดี๋ยวลองเขียนโครงเล่นๆดีกว่า......

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พี่เต๋อ concert 2007

วันนี้ได้มีโอกาส เอางานเก่าที่ทำไว้เมื่อปีที่แล้ว(2007) มาpost
เป็นงานconcert พี่เต๋อ ซึ่งเป็นconcert ที่มีการเมืองในGMM พอควรทีเดียว
แต่ก็ ok เราได้รับมอบหมายมาก็ต้องทำเต็มที่ กว่าจะหาsourceมาได้สักอันนี่
มันก็ยุ่งยากพอควรทีเดียว
วิธีคิดงานคราวนี้ ก็ต้องตอบโจทย์ คือการ ให้ศิลปินทั้งรุ่นเล็กและใหญ่
มาร้องเพลงเพื่อรำลึกถึง พี่เต๋อ
ดังนั้นรวมๆจะเป็นการเล่าถึงและพูดคุยถึงพี่เต๋อ
ตอน Design productionครั้งนี้
ผมทำStage แบบใช้ จอ ยาวๆ โดยแนวคิดจะเสนอภาพต่างๆ
และSceneต่างๆ ผ่านจอนั้น โดยมีSecond stage อยู่หน้าจอ
ไว้สำหรับทำ Show และ เปิดตัว (ซึ่งงานนี้
ก็ต้องขอบคุณ พี่อู๋ เปรมจิด ที่ช่วยทำShowที่ทำให้งานผมมี
Dynamic ขึ้นมามากเลย แม้ว่าบางอันผมอาจจะรู้สึกว่าเกินๆไปหน่อย
แต่ถ้าไม่มี Dance show นี้ show นี้คง flat ไปมากเลยหละ)
วิธีคิดของคราวนี้ ผมก็พยายามแบ่งกลุ่มก้อนของShow
และเสนอภาพในtechnicที่ต่างๆกันในแต่ละกลุ่ม
แต่วิธีตีความจะคิดเป็นเพลงๆไป
พยายามส่งข้อความตามเพลงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวกะเพลงนั้นๆ
ซึ่งถ้าให้ผม Designใหม่ในวันนี้ ผมอาจจะมีเพิ่มเติมบางอย่างที่ขาดไป
ผมคงจะเล่าเรื่อง พี่เต๋อ เป็นเรื่องเป็นราวกว่านี้ ให้โครงของพี่เต๋อแข็งแรงกว่านี้
อาจจะเล่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพี่เต๋อชัดเจนกว่านี้
ก็อันนี้เป็นpresent ช่วงแรกๆอาจจะไม่ตรงกะของจริงเท่าไหร่
ลองดูเลยละกันครับ แล้วถ้ามีแรงจะมาอธิบายรายละเอียดการคิดอีกที้











วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

(How to)วิธีการดูงานออกแบบ และงานศิลปะ

ทุกวันนี้ผมเหนื่อยกับการบริหารงานและพัฒนาทีมงานมากๆ
บางทีก็รู้สึกเหนื่อยและเครียดจนอยากกลับไปเกาะแม่กิน
(อาชีพในฝันของหลายๆคน)
ทุกวันนี้ มันเหมือนเราต้องเป็นคุณครู และผู้ปกครองในเวลาเดียวกัน (เนื่องจากทีมงานเด็ก และยังไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควรจะเป็น)
ทุกคนต่างมีจุดอ่อนจุดบกพร่องที่ต้องปรับปรุงกันไป
เพื่อให้พัฒนาการความสามารถในการออกแบบ
ผมว่าเราควรดูงานให้เป็น(น้องที่office ผม ดูงานไม่เป็น สักแต่ว่าดูซะส่วนใหญ่)
การดูงานออกแบบ ถ้าจะดูเพื่อศึกษาและพัฒนาตัวเอง
ผมเลยลองเขียนวิธีดูงานให้เกิดประโยชน์กับนักออกแบบขึ้นมา
เผื่อใครที่ได้มาอ่านจะได้รู้จักวิธีวิเคราะห์งาน เพื่อนำมาเป็นcase study ให้ตัวเอง และสามารถที่จะวิเคราะห์งานของตนเองได้ด้วย
จริงๆการดูงานออกแบบมันมี2ระดับ ขอเริ่มที่ระดับพื้นฐาน
ซึ่งในระดับพื้นฐาน ผมขอแบ่งออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้

1. Function aspect
ศึกษาการทำหน้าทีของงานออกแบบ
ในแง่มุมนี้ ไม่ว่าเราจะดูงานประเภทใด จะเป็นงานproduct, graphic, motion graphic และอาจครอบคลุมไปถึง งานarchitect จนถึงงานfine art (แต่งาน fine art จะพบว่าfunction aspect ต่ำมาก จนบางทีเรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้)
เราต้องดูว่างานนี้มีโจทย์ที่ต้องการจะนำเสนออะไร
แล้วมันทำงานได้ถูกต้องตามโจทย์รึเปล่า
เช่นรถยนต์มันขับได้ดีมั้ย ตามที่มันควรมั้ย หรือ print ad อันนี้มันส่งข้อความที่ถูกต้องตามโจทย์มั้ย
อาคารนี้มีหน้าที่ใช้สอยได้ตามโจทย์หรึอยัง motion graphicในconcertนี้ส่งเนื้อหาเหมาะสมกันเพลงแค่ไหน อะไรทำนองนี้
ถ้าพิจารณากันอย่างละเอียด เราก็จะเข้าใจได้ว่างานเหล่านี้มันทำหน้าที่หลักได้สมบูรณ์รึยัง
ซึ่งfunctionเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะให้ผู้ชมผู้ใช้ ชื่นชอบงานของเรา
ซึ่งข้อนี้เป็นข้อมาตรฐานที่ต้องผ่าน (ซึ่งหลังๆผมพบว่าเด็กสมัยใหม่กลับตกข้อนี้บ่อยครั้ง
เพราะเค้ามักเข้าใจว่า งานแปลกคืองานที่ดี ทั้งๆที่มันคืองานที่ผิดแต่เค้ากลับคิดว่าดีเพราะมันแปลก)

2. Techinique aspect
ในแง่นี้ จะเป็นการศึกษางานในด้าน technique ว่ามันมีอะไรน่าสนใจ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมผูัใช้
อย่างเช่นภาพนี้ มันใช้techniqueอะไร เค้าทำขึ้นมาอย่างไร ด้วยวิธีการใด
(ในงานบางงานจะพบความน่าสนใจจากTechnique แต่อาจจะนำมาใช้ผิดfunction ซึ่งสิ่งเหล่านี้
มักทำให้นักออกแบบหลงทางคิดว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่จริงๆมันผิด เพราะมันตกข้อfunction )
แต่อย่างไรก็ตามการศึกษางาน เกี่ยวกับtechnique ควรดูงานให้เข้าใจจนถึงขั้นว่าเค้าทำได้อย่างไร
ใช้techniqueแบบไหน กระบวนการทำ หรือการคิดเป็นอย่างไร แล้วจดจำไว้ จนถึงวันที่
งานที่เราต้องทำมันเหมาะกับการใช้techniqueเหล่านั้นจึงนำออกมาใช้

3. Aesthetic aspect
Aesthetic aspectคือการสื่อสารออกมาด้วยมุมมองในด้านความงาม มักจะเป็นมุมมองที่ค่อนข้างpersonal แต่จะวัดผลจากการตอบรับของผู้ใช้ว่าชอบหรือไม่
ถ้าความงามบางรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากเข้า มันจะกลายเป็นTrend ไปทันที
การศึกษาด้่านความงามที่ดีจะต้อง ศึกษาให้สัมพันธ์กันเรื่องอารมณ์เป็นหลัก
ว่าความงานนี้สะท้อนอารมณ์แบบไหน ซึ่งการสะท้อนอารมณ์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเวลาด้วย
เช่นการใช้ลวดลายทหารในบางครั้งอาจจะสะท้อนถึงความเท่ห์ หรือบางเวลาอาจจะสะท้อนถึงความโหดร้าย ขึ้นอยู่กันช่วงเวลา และการใช้งาน
(ในข้อนี้ก็เช่นกัน ผมพบนักออกแบบจำนวนมากที่หลงทางไปกับ trend จนตกในข้อFunction
และเข้าใจผิดเสมอว่า งานของคนอื่นๆไม่สวย ไม่ดี ทั้งๆที่จริงความสวยมันคือความเหมาะสม)

4.Idea aspect
แง่มุมนี้มักเป้นแง่มุมที่ นักออกแบบสมัยใหม่ชอบนำมาใช้
เป็นแง่มุมที่ทำให้งานมีเสน่ห์ และแตกต่าง ซึ่งในงานชิ้นหนึ่งๆ นั่นไม่มีความจำเป็นต้องมี idea
แต่เมื่อไหร่ที่มันมีidea มันมักจะพางานออกแบบเหล่านั้นไปสู่สิ่งที่ดีและน่าจดจำกว่า
การมองงานที่มีidea คืองานที่มีความลึก มีความหมายซ้อนทบที่น่าสนใจและตรงโจทย์
(มักจะเห็นได้ในงานโฆษณาที่ส่งประกวด scam ad ทั้งหลาย) อันนี้ก็เหมือนกัน
นักออกแบบหลายคนมักนำมาใช้ผิดๆถูกๆ ใส่ideaผิดที่ผิดทาง ยิ่งทำให้งานมันหลงทางไปกันใหญ่
คือไม่ใส่ซะบางทียังดีกว่า แต่เด็ก(หรือไม่เด็ก)หลายๆคนก็ชอบใส่ideaลงไปเพราะกลัวไม่ใส่แล้วดูโง่
แต่จริงๆ ยิ่งใส่ยิ่งดูโง่ .... เฮ้อ

เมื่อเราเข้าใจใน 4 ข้อนี้แล้ว เราก็สามารถดูงานออกแบบเป็น
ก็คือเมื่อเราเห็นงานใดๆ ก็จงวิเคราะห์ให้ดีว่ามันมีความน่าสนใจในหัวข้อไหน
หัวข้อไหน มันทำได้ไม่ดี เช่นมันตอบโจทย์มั้ย techniqueมันน่าสนใจมั้ย สวยมั้ย
Idea ดีมั้ย เมื่อเห็นว่าข้อไหนมันดี ก็จงพิจารณาต่อว่ามันดียังไง มันทำมาได้ยังไง
มันถูกคิดด้วยกระบวนการอะไร techniqueดีดีนี้มันทำอย่างไร
เมื่อเราเข้าใจถึงที่มา เราก็จะสามารถนำไปใช้กับงานของเราอย่างเหมาะสม
ซึ่งถ้าเราเข้าใจถึงวิธีการดูงานอย่างถ่องแท้ เราก็ไม่จำเป็นต้องดูงานเยอะ
แค่ขอให้ดูอย่างเข้าใจและเกิดประโยชน์

4 ข้อที่กล่าวมาคือวิธีการวิเคราะห์งานออกแบบชิ้นหนึ่งๆ
ซึ่งเป็นเพียงวิธีพื้นฐาน เพราะอีกระดับของการวิเคราะห์ที่จะกล่าวต่อไปคือการวิเคราะห์
ในระดับโจทย์ ซึ่งต้องมีมุมมองมากกว่าการมองแค่งานออกแบบ
แต่ต้องเข้าใจให้ลึกไปถึงการตลาด การหาข้อมูลเชิงลึก และความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งผมขอเรียกว่า เป็นการศึกษาในมุม conceptual
หรือ Branding Aspect
ซึ่งถ้าเราเข้าใจสิ่งนี้เราจะมีวิเคราะห์งานที่เราศึกษาได้อย่างชัดเจน
และมีบทสรุปให้กันงานที่เราศึกษาว่าดีหรือไม่
ได้อย่างถูกต้องของเสมอ
ซึ่งหัวข้อนี้ จะเขียนในบทความต่อไปละกัน

เดือนกว่าแล้วที่ไม่ได้เริ่มซักที ขอเริ่มที่ KIM RAIDER VS X-MEN ละกัน

ขอบอกว่าเซ็งมาก เพราะเมื่อกี้เขึยนเสร็จ พอกำลัง up รูปงานกับanimation มันก็แฮ้ง
งั้นวันนี้ขอ up งาน KIM RAIDER vs X-MEN แค่รูป ส่วนcomment กับที่มาที่ไป ไว้มีอารมณ์จะมาเขียนใหม
เอาเป็นคร่าวๆ ของที่มาที่ไปของงานDESIGN ของ KIM RAIDER vs X-MEN ก่อนละกันน่ะ






เดือนกว่าละ ยังไม่มีอะไรคืบหน้าเลย (อุ้ยมันมี autosave ก่อนhang)





จริงๆพยายามหางานเก่าๆมาตั้งแต่ตอนเริ่มทำงาน Entertainment production
แต่ก็ไม่มีเวลาหาสักที ก็เลยเริ่มจากเอางานที่มีในเครื่องก่อนละกัน
ก็คงเป้นงานของ พี่คิ้มConcert Kim rider vs x-men
งานนี้เท่าที่ฟังfeedbackก็ไม่สู้ดีนัก เค้าว่าshowมันซ้ำ และ ทำเยอะไป จนตัวตนของพี่คิ้มหายไป
แต่ในฐานะคนทำ และพยายามมองอย่างเป็นกลาง
ก็ยอมรับในบางส่วน และก็ไม่เห็นด้วยในบางส่วน
scriptเนียะ จริงๆมันก็ร้อยเรื่องมาดีในระดับนึง แต่ศิลปินอาจจะไม่สามารถhold script ให้มันแข็งแรง
อาจจะด้วยเหตุว่าแขกรับเชิญ พาไป มุขพาไป มันเลยทำให้scriptมันงงๆ
ส่วนการจะเหาะเหินในมุมของผม มันเป็นการตอบโจทย์ conceptของconcert
(เป้นโจทย์ที่ได้รับมานะ) แต่คนคิดคงต้องการสร้างเรื่องราวบางอย่างให้พี่คิ้มได้แสดงความสามารถ
ที่เจ้แกมีมากมาย ให้คนดู
ความยาวของshowที่คนมักบ่นกันมากว่ายาว จริงๆมันยาวจากการปล่อยมุขที่ค่อนข้างเยอะและยาว
เลยทำให้showหลังจากโก๊ะตี๋ มันเลยดึงgraphไม่ขึ้น
และด้วยความที่เพลงเยอะและยาก พี่คิ้มก็ไม่ได้มีเวลาพักเพราะคิวงานเยอะตลอด
ก็เลยทำให้แกไม่สามารถแสดงศักยภาพที่มี ส่งให้เพลงช่วงท้าย drop
และเพลงที่เลือกมาก็เหมือนจะพยายามท้าทายว่าเราก็ทำได้อย่างต้นฉบับ
แต่เนื่องด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นทำให้พี่คิ้มร้องได้ไม่เท่าต้นฉบับ มันเลยทำให้show
ช่วงท้ายดู เหนื่อยๆ ยิ่งทำเพลงหลังๆและก้อนจบมันหน่วงๆ แบบเหนื่อยๆ
ตอนนี้DVD ออกมาก็เลยได้ดูอีกที ได้มองเห็นข้อผิดพลาดและข้อดีของงาน

ก็เลยเอาpresent สรุปตอนที่เริ่มงานมาup ไว้ ให้เห็นโครงการdesign show ,scene และ stage