วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาของค่ายเพลงและศิลปิน

ปัญหาของค่ายเพลงและศิลปิน
ทุกวันนี้ผมพบปัญหาที่น่าตลกมากของระบบธุรกิจที่ต่อไปถ้ายังจะให้มันเป็นแบบนี้
วงการดนตรีจะยิ่งตกต่ำลงเนื่องจากขาดความสามัคคีและแก่งแย่งและกลัวเสียผลประโยชน์กัน
จนทำให้ระบบของวงการเพลงมันไม่ก้าวไปข้างหน้า

เราสังเกตุได้ว่าทุกวันนี้เพลงและศิลปินถูกแยกจากกันโดยสิ้นเชิงในระบบ
เพลงเป็นของค่ายตลอดไปส่วนศิลปินมีสัญญาเป็นวาระ
เวลาศิลปินหมดสัญญา ก็ไม่สามารถนำเพลงไปร้องได้(ในเชิงกฎหมาย)
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับทุกค่ายและทุกศิลปิน 
ศิลปินหลายคนก็บ่นว่า"เพลงกูแต่ก็เอาไปทำคอนเสิร์ตเองไม่ได้จะร้องก็ต้องขอค่ายก่อน"
ส่วนค่ายก็คิดว่า"เพลงมึงแต่กว่ากูจะปั้นมึงและเพลงให้ดังได้รู้มั้ยกูลงทุนเท้าไหร่มีคนอยู่เบื้องหลังกี่คน"

เรื่องทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนควรรับรู้เพราะเป็นเรื่องจริง
กว่าศิลปินจะดังได้หรือจะมีคอนเสิร์ตได้มีคนเบื้องหลังจำนวนมากช่วยเหลืออยู่ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องเกิดจากการลงทุนของค่าย ในขณะที่ศิลปินจะดังได้ก็ต้องมีความสามารถหลายอย่างไม่ว่าจะร้องเพลงแต่งเพลงหรือเล่นดนตรี

ทุกวันนี้มันน่าประหลาดที่ ค่ายก็เริ่มไม่กล้าลงทุนปั้นศิลปินเพราะกลัวศิลปินย้ายค่าหรือเอกไปทำเอง
ส่วนศิลปินดีดีหลายคนก็ไม่อยากเข้าค่ายเพราะกลัวว่าต้องเป็นทาส ของค่ายเพลงไปตลอด

เรื่องนี้แก้ปัญหาได้ไม่ยากคือการแบ่งเงินให้กันตลอดไปตลอดชีวิตของศิลปินนั้นๆ
ให้สิทธิในการร้องเพลงของทั้งสองฝ่ายแต่เมื่อหมดสัญญากับศิลปินแล้ว ศิลปินควรจะมีสิทธิจะร้องเพลงตัวเองได้
แต่การทำธุรกิจทุกครั้งค่ายจะได้รับส่วนแบ่งกลับเสมอ ผมว่าวิธีนี้fairดีแต่อาจจะต้องหาmodelสัดส่วนการแบ่งเงินที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม โดยส่วนตัวผมว่าศิลปินควรแบ่งเงินกลับมาที่ค่ายในสัดส่วนที่มากพอสมควรทีเดียว
ไม่ใช่แบ่งกลับมา10-20% เพราะจริงๆแล้วการปั้นศิลปินคนนึงจะต้องใข้investmentที่สูงมากทีเดียว

ความน่าสนใจและทิศทางของวงการเพลงไทย


ความน่าสนใจและทิศทางของวงการเพลงไทย
ทุกวันนี้ยอดดาวน์โหลดของธุรกิจมือถือตกมากซึ่งมันก็แหง๋
เพราะบางบริษัทไปฝากขีวิตอยู่กับยอดการโหลดring backtone เสียงรอสาย
ซึ่งมันเป็นเพียงproductนึงในตลาดที่มีวันขึ้นและลงหาได้มีคุณค่าทางการนำเสนอเนื้อหาเพลงมาก
พอคนเบื่อจะจ่ายเงินกับเสียงรอสาย ก็เริ่มเกิดอาการเครียดกับธุรกิจ
เพราะการเน้นที่เสียงรอสายทำให้การสร้างศิลปินที่เป็นคนที่คนทั่วไปชื่นชมเป็นidolมันไม่มี
เหลือเป็นเพียงการทำเพลงอย่างไรก็ได้ให้คนโหลดเพื่อรอสาย
พอวันนี้ที่ยอดดาวน์โหลดเพื่อเสียงรอสายมันตกเราก็เต้นแร้งเต้นกา

การทำศิลปินไม่ว่ายุคใดก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ดนตรีคืองานศิลปะ และงานศิลปะจะมาพร้อมศิลปินผู้สร้างเสมอ
คนที่ชื่นชมและสนับสนุน จะต้องชอบทั้งผลงานและตัวตน
การสร้างศิลปินจึงจำเป็นจะต้องสร้างทั้งตัวตนศิลปินและผลงานศิลปิน

เราจะอยากดูคอนเสิร์ตเพราะเราได้สัมผัสศิลปินและผลงานเค้าแบบสดๆ
ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว มันก็จะไม่สามรถเกิดคอนเสิร์ตขึ้นได้เลย

ทุกวันนี้ศิลปินน้อยลงเต็มทีค่ายใหญ่หลายค่ายสร้างแต่เพลงไม่เน้นศิลปินหรือนั้นบางค่ายพยายามปั้น
แต่ดังแค่เพลงสองเพลงทำให้ความเป็นตัวตนของศิลปินหายไปมากยากที่จะทำคอนเสิร์ตเป็นของตนเองสักอัน

ส่วนคนฟังทุกวันนี้ฉาบฉวยอะไรในขีวิตมันเยอะไปหมดเพลงก็หามาได้ง่ายๆไม่มีมูลค่า
ฟังเร็วก็เบื่อเร็วและเพลงมันก็เยอะมากในตลาด ทำให้ความตราตรึงกับเพลงน้อยและ
ย่อมส่งผลให้ความตราตรึงในศิลปินต่ำลงเช่นกัน


วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

Concertคืออะไร

การทำคอนเสิร์ต คืออะไร การทำคอนเสิร์ตจริงๆมันไม่ยาก คือเราต้องตอบโจทย์ของความคาดหวังที่เราสร้างขึ้นให้เกิดขึ้นกับคนดู และต้องตอบให้ถูกต้อง เพียงแค่นั้นก็ได้คอนเสิร์ตที่ดี ซึ่งก็อาจจะดีกว่านั้นได้อีกถ้าคนดูได้สิ่งที่เกินความคาดหวัง ทุกวันนี้ผมทำคอนเสิร์ตมามากมาย ก็ยังแปลกใจที่คนทำคอนเสิร์ตจำนวนมากโดยเฉพาะคนใหม่ๆและคนที่มาจาก สายอื่นๆเช่นสายevent สายproductionที่ยังมีความเข้าใจในคอนเสิร์ตน้อยมาก จนทำให้ผมงงว่าบางทีเรากำลังทำอะไรอยู่ คอนเสิร์ตไม่ใช่eventที่ต้องเน้นที่ความแปลกไม่เคยเห็นมาก่อนไม่เคยมีใครทำมาก่อนเพื่อให้เป็นที่จดจำ คอนเสิร์ตไม่ใช่equipment display ที่จะมาแสดงแสนยานุภาพของproduction คอนเสิร์ตไม่ใช่show ที่คนจะมาเสพเพียงเนื้อหาความสนุกของshow คอนเสิร์ตไม่ใช่ละครเวทีที่จะโครงหลักคือเรื่องหรือคอนเซปแล้วคนดูก็จะมาเสพ พื้นฐานของคอนเสิร์ตคือความคลั่งไคล้ของแฟนๆศิลปินที่จะมาชื่นชมศิลปินของเค้าแสดงความสามารถสดๆให้ดู คล้ายๆอะไรที่เรียกว่า"ศิลปินพบประชาชน" ทุกวันนี้คอนเสิร์ตได้เปลี่ยนรูปแบบไปมาก. ในหลายครั้งการผสมshowเข้ากับคอนเสิร์ตก็ทำให้เกิดอรรถรสที่ดีน่าสนใจมากกว่าคอนเสิร์ตทั่วไป ในหลายครั้งที่แสนยานุภาพของproduction ได้ช่วยให้คอนเสิร์ตดูสนุกขึ้นมาก แต่ข้อสังเกตุของผมในช่วงหลังคือคนทำงานหลายคนขาดความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของคอนเสิร์ตไปมาก จนหลายครั้งผมเห็น(รวมถึงได้ทำงาน) กับคอนเสิร์ตที่มีความบิดเบี้ยวทางการนำเสนอสารสู่คนฟัง ซึ่งการบิดเบี้ยวนี้ส่วนใหญ่เกิดจากคนทำคอนเสิร์ตมีความเข้าใจคนดูที่ผิดไปว่าเค้ามาดูเพราะอะไร เมื่อเราเข้าใจคนดูผิดไป เราก็จะส่งสารที่ผิดให้กับคนดู ผมเป็นคนที่โตมาจากสายproduction เคยคิดว่าproductionคือความสำคัญมากสุดๆ (เราคงเคยได้จังหวะที่ไฟสาดออกจากเวทีจำนวนมากจนสาดเข้าตาเราจนมองไม่เห็นอะไรบนเวที นั่นเพราะคนทำไฟอยากให้เรามองไฟ แต่นั่นคือสิ่งที่เราซื้อบัตรมาดูใช่หรือไม่ หรือเราอาจเคยดูคอนเสิร์ตในทีวีที่ถ่ายแต่ภาพกว้างๆตลอดเวลาเพื่อให้ดูกราฟฟิกและแสงไฟที่แสนอลังการ เพียงเพราะคนทำอยากให้รู้ว่าเราทำกราฟฟิกสวยและลงทุนแสงไปเยอะ แต่นั่นคือเนื้อหาของคอนเสิร์ตที่เราอยากจะดูอย่างงั้นหรือ) แต่จริงๆแล้วproductionมันเป็นเพียงเครื่องตกแต่งจานอาหาร ไม่ใช่เนื้ออาหารแต่อย่างใด การทำงานมาหลายปีและทำงานกับผู้จัดหลายคนทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราควรตกแต่งจานอย่างเหมาะสม (หลายครั้งที่ผมเองก็ลืมตัวตกแต่งมากเกินไป) และการทำงานกับผู้จัดหลายๆคนก็เลยทำได้ชิมเนื้ออาหารหลายหลากรสชาติ มีทั้งอร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง แต่ก็ทำให้เข้าใจในธุรกิจและธรรมชาติของธุรกิจนี้อีกเยอะ ที่เขียนมาเพราะช่วงนี้ได้พบเห็นและมีส่วนร่วมงานหลายอันที่เน้นการทำproduction ให้คนดูเห็นproductionที่อลังการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะตกแต่งจานอย่างสวยงามอลังการ เพราะมันคือกำไรของคนดูเพียงแต่ผมแอบแปลกใจที่หลายครั้งเราลืมสนใจเนื้ออาหารไปว่าเค้าทำอะไรให้ทาน เราตกแต่งมันเข้ากับอาหารนั่นมั้ย ผมเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าเราจะทำproductionได้ถ้าเราไม่ได้รู้และเข้าใจรูปแบบคอนเสิร์ต เราจะออกแบบเวทีได้อย่างไรถ้าเราไม่ทราบสารที่คอนเสิร์ตจะสื่อถึงคนดู หลายครั้งผมเจอศิลปินมีความเป็นตัวเองสูง ไม่ยอมอะไรง่ายๆ จู้จี้และมีทิฐิ แต่ผมกลับเข้าใจคนเหล่านั้นอย่างมากเพราะเค้าเนื้ออาหาร คนดูมาทานเค้า ถ้าเค้าไม่มั่นใจว่าอร่อย จะให้เค้าปล่อยได้อย่างไร หน้าที่ของเราคือทำให้เค้ามั่นใจและแสดงศักยภาพของเค้าได้อย่างเค็มที่ ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเห็นตลาดของshowในรูปแบบคอนเสิร์ตมันเริ่มผิดเพี้ยนไป มันอาจจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่การทำแบบนี้บ่อยๆผมว่าบางทีมันทำให้คนดูกลับหลงทาง อาจส่งผลไปกับการเบื่อการดูคอนเสิร์ตไปเพราะเราสื่อสารที่ผิดกับความคาดหวังของคนดู ทุกวันอยากเห็นคอนเสิร์ตที่เปลี่ยนรูปแบบไปในมุมเชิงพัฒนามากกว่ามุมแห่งความแปลก ผมว่ามันยังมีอีกหลากหลายด้านของไทยที่ยังต้องพัฒนาไปอีก....