วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขาวเทาดำ

เพิ่งกลับมาจากพาออฟฟิสไปเที่ยวฮ่องกง
ตื่นมาก็คิดอะไรไดบางอย่างอย่างฉับพลัน
ชีวิตคนมันเป็นสีเทาคือมันยากที่จะหาอะไรถูกอะไรผิด
ท้ายสุดมันไม่มีอะไรที่ผิดจริงๆหรือถูกจริงๆ
มันมีแค่ผิดของใครถูกของใคร
และสิ่งนี้สิ่งไหนมันจะดีก็ไม่มีใครตอบได้
เพราะมันไม่ใช่ปัจจุบัน

ท้ายสดเราก็พบว่าทุกอย่างมันเป็นอนิจจัง

แต่การคงอยู่ของมวลมนุษย์สัตว์ที่มีความยุ่งเหยิงในชีวิตสูง
เราต้องการระบบเพื่อยืดการสูญพันธ์ของมนษย์
และการเดินทางของระบบในมวลคนจำนวนมากในเวลาจำกัด
เราต้องการสีขาวและดำ
ดังนั้นมันจึงมีการขีดเส้นขึ้นมาหลายครั้งเพื่อกำหนดทิศทาง
ของระบบให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อเป็นการเดินทางต่อไปข้างหน้า
เพื่อให้มันการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันบ้าง
แต่พอหลังจากการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันมันก็จะกลายเป็นสีเทาๆอยู่ดี

เรื่องที่ว่านี่คิดได้วันนี้22/12/2013
วันที่เหลืองปะทะแดงอย่างเอาเป็นเอาตาย

ปล
ผมทำงานอยู่ในสายเผด็จการณ์
เพราะศิลปะมันไม่มีถูกมีผิดเราต้องการคนที่บอกว่าขาวหรือดำ
เราจะได้แก้ปัญหาต่อไปด้วยการคิดแบบสีเทาๆออกมายอีกครั้ง

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อยากกราบขอบคุณ

อยู่ๆวันนึงก็คิดถึงน้องๆทุกคนที่ร่วมงานกันมา
วันนี้เป็นวันที่เราเริ่มชัดเจนแต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ ก็มั่วกันอยู่พักใหญ่ๆ
ชีวิตทำงานแบ่งย่อยๆคงได้หลายช่วง
ตั้งแต่ทำงานประจำกับaesthetic studio(พี่บี:ขอบคุณพี่เค้าอีกครั้ง)
แล้วก็มาทำกับเพื่อนๆอีก 4 คน ที่เป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานครั้งใหญ่
ต้น ปอย หนุ่ย เอ๋ย มาทำบริษัทเล็กๆกัน อย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่โดยการผลักดันของปอย คนที่มีความทะเยอทะยานที่สุดในกลุ่ม
ตอนเริ่มก็เริ่มแบบเด็กๆอยากทำนู่นนี่ รับจ้างไป ขายของตัวเองไป
แล้วก็เป็นครั้งแรกที่เริ่มพบว่าความจริงมันไม่เคยง่าย

ชีวิตการทำงานช่วงใหญ่ ก็คือช่วงที่ทำบริษัท edit studio/box exhibit
ที่รับจ้างทำงานออกแบบทุกสาขา

ชีวิตการทำงานช่วงที่สองคือ ช่วงBox exhibit/HUI
ที่เน้นการเป็นspecialist ด้านงานentertainment production

(ไว้จะค่อยมาเขียนเพิ่มเติม)

แม้วันนี้ก็ไม่ได้เป็นวันที่ผมรุ่งเรื่องอะไร อาจจะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นบ้าง
แต่แค่รู้สึกอยากขอบคุณคนเหล่านี้มากๆ
ไม่ว่าใครจะจบกันไปดีไม่ดี เข้าใจกันบ้างไม่เข้าใจกันบ้าง
แต่ทุกคนมีความสำคัญ ผมอยากจะขออภัยทุกคน ถ้าได้ล่วงเกินไปอย่างตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ
แต่ทุกคนคือความสำคัญในชีวิต และเป็นคนที่มีพระคุณกับชีวิตผมทุกคน

นอกจากครอบครัว พ่อและ แม่
ผมจะลองไล่ดูนะว่ามีใครบ้าง

ต้น ปอย หนุ่ย เอ๋ย
ลูกหยี ชิง เตือน
น้ำ นก เก้ง กิฟท์ อ้อม จูน พี่ลัดดา
เปิ้ล นินิ สิต กิม เข็ม แจ็ค ก้อง นะ เล็ก พ้ง
มาส ดิว pipe ปู พี(พีระพัฒน์) ที


นุ่น น้ำหนึ่ง ขวัญ

จนมาถึง
เบียร ปัท แจ๋ว ปิ๊ง เอม ฝน

กราบขอบคุณจากใจ
วันนี้ผมไม่เคยโกรธใครแล้ว
......ถ้าเจอกัน ทักทายกันนะ(บอกตัวเอง)

เพิ่งเข้าใจว่า ทำไมต้องเป็น "รักบี้"

เมื่อวานซืนได้บังเอิญเปิดไปเจอ รักบี้ ชิงแชมป์โลกอย่างไม่ได้ตั้งใจแต่นั่งดูอย่างตั้งใจ
นั่งทบทวนความรู้สมัยปีหนึ่ง การทำรัก ทำโมล ไลน์ซ้าย ไลน์ขวา เตะ
เพิ่งรู้ว่าตัวเองเล่นรักบี้ไม่เคยเป็นเลย ตอนอยู่ในสนามไม่เห็นเข้าใจอะไรสักอย่าง
เอาแต่จะคว้าบอลแล้ววิ่งปรู๊ดดด เข้าไปทำไทร์ ทำทุกอย่างเพื่อชัยชนะ และการแข่งขัน
ตอนนี้มาดูอีกทีก็พอจะเข้าใจการเล่นที่มันค่อนข้างมีกติกาและทุกคนก็เล่นกันอย่างมีระบบระเบียบ
ระหว่างที่นั่งดูก็มีความรู้สึกว่าเกมมันช่างต่อเนื่องและไหลเรื่อยๆโดยมีกลุ่มนักกีฬาที่ทำงานไปเป็นระบบ คนนึงล้มอีกคนเคลียร อีีกคนเก็บบอล อีกคนโยน อีกคนเตะ ไปเรื่อยๆแบบนี้
ทั้งหมดนี้ก็ทำให้อยู่ๆก็เข้าใจว่า ทำไม พี่พี่คณะสถาปัตย์ เค้าถึงให้เล่นกีฬารักบี้
เคยมีพี่บอกมาว่ามันเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความสามัคคีกันมากที่สุดและน้อยคนเล่น ทำให้เหมือนน้องทุกคนเหมือนเริ่มต้นใหม่กันหมด และพี่ที่เรียนมาก่อนก็มักจะเก่งกว่า ซึ่งในข้อหลังผมเชื่อ เพราะมันทำให้เกิดระบบ seniorityซึ่งผมก็เข้าใจได้ แต่ตอนเด็กก็ไม่เข้าใจว่ามันสามัคคียังไง เตะบอลก็ต้องสามัคคี วอลเล่ย์ก็สามัคคี อเมริกันฟุตบอลก็สามัคคี

พอดูครั้งนี้ ก็ถึงบางอ้อ ว่าจริงๆด้วย กีฬานี้เป็นกีฬาที่สามัคคีมาก นักกีฬาจะอยู่ก็กลุ่มเพราะกฎต่างๆทำให้การเคลื่อนที่ต้องไปด้วยกัน เพื่อนร่วมทีมไม่สามาถวิ่งไปรอไกลๆเพื่อเอาบอล เพื่อนร่วมทีมไม่สามารถวิ่งไปเดี่ยวๆได้บ่อยเพราะเวลาล้มมันต้องมีคนเข้าไปช่วย แม้จะเตะบอลก็ต้องวิ่งนำเพื่อนๆไปก่อน คนอื่นถึงจะไปเอาบอลได้ การตั้งรับก็ต้องวิ่งเป็นแผงไม่ให้เกิดช่องว่าง การเข้าสกรัมก็ต้องออกแรงให้เท่าๆกันทั้งสองข้างเพื่อไม่ให้สกรัมหมุน(อันนี้เดาเอา เพราะไม่เคยเล่นกองหน้า)

ยิ่งดูยิ่งคิดชื่นชมคนที่เอากีฬานี้มาใช้กันคณะเรา เพราะมันไม่ใช่กีฬาบ้าพลัง
ไม่ใช่กีฬามั่วซั่ว ไม่ใช่กีฬาไม่ใช้สมอง ไม่ใช่กีฬาแห่งการเลาะโคลน
 แต่มันเป็นกีฬาแห่งความสามัคคี  ผมจบมาแล้วกว่า 15 ปี เพิ่งเข้าใจคุณความดีของมันวันนี้
และก็อยากให้สิ่งนี้ได้สอนต่อๆกันไป สอนกันให้ถูกต้องเพราะมันเป็นสิ่งที่ดี
ว่าไปแล้วก็รู้สึกว่า.....ปีหน้าไปรักบี้สตูดีกว่า

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

38ปี ผ่านไปแต่เหมือนยังคงวิ่งตามอะไรบางอย่าง

หลังคอนเสิร์ต6 2 13 dance fever
ก็ป่วยกระเสาะกระแสะเป็นเวลาจะสองสัปดาห์
เล่จเกมส์ดึกดื่น จนเบื่อเลิกกเล่นก็แล้ว
ก็ยังคงนอนวันละสองสามชั่วโมง ไม่อยากนอนนอนแล้วก็เผลอตื่นบ่อยๆ

เป็นช่วงชีวิตที่นั่งคิดว่า พลังในการทำอะไรมันต่ำลงมาก
ไม่รู้ด้วยเหตุผลใด หรือชีวิตส่วนตัวมันชวนให้ปวดหัวและเหนื่อยใจ
แต่ลึกๆรู้สึกเหมือนชีวิตต้องหาอะไรบางอย่างซึ่งก็ยังหาไม่เจอ

เป็นช่วงที่รู้สึกว่าจะต้องทำอะไรบางอย่างให้ชีวิตมีพลังกว่านี้
เหมือนเรือเล็กจะต้องออกจากฝั่งอีกครั้ง อาจจะต้องทิ้งอะไรบางอย่าง
เพื่อให้การเดินทางคราวนี้มีความมุ่งมั่นกว่านี้
...แต่จะเดินทางไปไหนดี....

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Do we see things the same?

ตลอดเวลาตัั้งแต่สมัยเด็กๆผมครุ่นคิดอยู่เสมอ. ถ้าเราสอนลูกให้เรียกสีแดงที่เราเห็นว่าสีเขียว
สอนให้เรียกก้อนหินว่าฟางข้าว สอนให้เรียกรสหวานว่ารสเค็ม
ลูกเราพอไปถึงโรงเรียนจะงงมั้ย สังคมในโรงเรียนจะทำอย่างไรกับลูกเรา และลูกเราจะออกมาเป็นอย่างไร
จะเชื่อเรามั้ย จะสับสนแค่ไหน และจะปรับตัวอย่างไร

แต่สิ่งที่คิดนั้นคงยังไม่ได้ทำง่ายๆเพราะหนึ่งคือผมยังไม่มีลูก หรือแม้แต่เมียก็ยังไม่มีเลย(คิดข้ามขั้นไปมาก)
และถึงแม้จะมีลูกแล้ว เมียผมคงขวางไม่ให้ผมทดลองอย่างนั้นกับลูกผมเอง(ซึ่งก็ลูกเค้าด้วย) อย่างแน่นอน

แม้จะยังไม่ได้ทดลองไปแต่การคิดจากวัยเด็กนั้นผมได้รับการตอกย้ำว่าการที่เราเห็นอะไรนั้นเป็นการสอนกันมาทั้งนั้น
โดยเฉพาะจากวิชาชีพผมเอง ผมทำงานอยู่บนความสวยงาม หลายครั้งที่ผมต้องอยู่บนความขัดแย้งกันของคำว่าสวยงาม
คือคนนึงว่าสวยอีกคนนึงว่าไม่สวย คนนึงว่าสีเข้ากันอีกคนว่าสีไม่เข้ากัน อะไรแบบนี้มากมายหลายต่อหลายครั้ง
ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นมาว่าจริงๆแล้วคนเราเห็นอะไรเหมือนกันจริงมั้ย

สีแดงที่ว่าแดง ถ้าอยู่ในร่างกายอีกคนจะเห็นเหมือนกันมั้ย หน้าตาผมมองตัวเองเหมือนหน้าตาคนอื่นมองผมมั้ย
อย่างที่เรารู้ว่าภาพทีเราเห็นเกิดจากการตกกระทบของแสงเข้าสู่ตาเรา ตาเรารับข้อมูลไปประมวลผลในสมอง
แต่เรารู้ได้อย่างไรว่าทุกคนประมวลเหมือนกัน เท่ากันเป๊ะๆ
ขาแขนนิ้วยังหน้าตาไม่เหมือนกัน ยาวไม่เท่ากัน นับประสาอะไรกับสมองและเส้นประสาทที่แต่ละคนก็คงไม่เหมือนกัน
กล้ามเนื้อของ โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ น่าจะเคื่อนไหวได้เร็วกว่าคนทั่วไปอันนี้เราเห็นเป็นรูปธรรมแต่จริงๆแล้วประสาทตา
ของโรเจอร์อาจจะเร็วกว่าเราทำให้เค้าเห็นลูกเทนนิสเคลื่อนไหวช้ากว่าเราก็เป็นได้ เค้าจึงตอบสนองได้ดีกว่าเรา
อันนี้ไม่มีใครทราบได้เพราะไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่ผมเชื่อว่ามันไม่เท่ากันแน่นอน

ซึ่งเมื่อแปลได้ดังนี้ผมว่าหน้าของเราทุกคน สีผิวของเราทุกคนอาจจะไม่ได้เหมือนกันเป๊ะๆในตาของแต่ละคน
จึงเป็นที่น่าสนใจมากว่าหน้าตาของเราเมื่ออยู่ในตาคนอื่นมันเป็นอย่างไร
เราคงไม่สามารถรู้ได้ตราบใดที่เรายังไม่สามารถสลับร่างกายกับคนอื่นได้
แต่ผมว่าสิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ชวนให้คิดว่าในตาของเรา เราเห็นเหมือนหรือคนอื่นแตกต่างกันแค่ไหน

และเมื่อเข้าใจเช่นนี้ มันจะสะท้อนออกไปสู่เรื่องต่างๆ ที่ใหญ่กว่านั้นว่าการตัดสินใจหรือฟันธงอะไรไปนั้นว่ามันดี มันถูกต้อง
หรือมันผิดมันเลว จริงๆแล้วมันก็เป็นเพียงในมุมมองของเราเท่านั้น หาใช่ในมุมมองของคนอื่นไม่  เพราะขนาดของสิ่งเดียวกันคนเราทุกคนยังเห็นออกมาไม่เหมือนกันเลย
นับประสาอะไรกะเรื่องอื่นๆทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ เพราะคำว่าบรรทัดฐานในโลกมันเป็นสิ่งที่ไม่จริงเพราะท้ายสุดในบรรทัดฐานนั้นๆ เราก็ต้องเอาตัวเราเป็นไม้บรรทัดในการวัด และตัวเราแต่ละคนนั้นก็เห็นและเข้าใจอะไรไม่เท่ากันและไม่เหมือนกันเลยอยู่เลย

ว่าแล้วก็อยากทำนิทรรศการศิลปะสักชุด ว่าคนเรามองคนหน้าตาเป็นอย่างไร
คุณอภิสิทธิ์เห็นหน้าคุณทักษิณเป็นอย่างไร
คุณสุเทพเห็นหน้าคุณทักษิณเป็นอย่างไร
คุณจตุพรเห็นหน้าคุณทักษิณเป็นอย่างไร
คุณอริสมันต์เห็นหน้าคุณทักษิณเป็นอย่างไร
จะเห็นเหมือนผมเห็นมั้ย
...แล้วคุณละจะเห็นเหมือนกันแค่ไหน?

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สวัสดีครับ ผมกลับมาแล้ว

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาของค่ายเพลงและศิลปิน

ปัญหาของค่ายเพลงและศิลปิน
ทุกวันนี้ผมพบปัญหาที่น่าตลกมากของระบบธุรกิจที่ต่อไปถ้ายังจะให้มันเป็นแบบนี้
วงการดนตรีจะยิ่งตกต่ำลงเนื่องจากขาดความสามัคคีและแก่งแย่งและกลัวเสียผลประโยชน์กัน
จนทำให้ระบบของวงการเพลงมันไม่ก้าวไปข้างหน้า

เราสังเกตุได้ว่าทุกวันนี้เพลงและศิลปินถูกแยกจากกันโดยสิ้นเชิงในระบบ
เพลงเป็นของค่ายตลอดไปส่วนศิลปินมีสัญญาเป็นวาระ
เวลาศิลปินหมดสัญญา ก็ไม่สามารถนำเพลงไปร้องได้(ในเชิงกฎหมาย)
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับทุกค่ายและทุกศิลปิน 
ศิลปินหลายคนก็บ่นว่า"เพลงกูแต่ก็เอาไปทำคอนเสิร์ตเองไม่ได้จะร้องก็ต้องขอค่ายก่อน"
ส่วนค่ายก็คิดว่า"เพลงมึงแต่กว่ากูจะปั้นมึงและเพลงให้ดังได้รู้มั้ยกูลงทุนเท้าไหร่มีคนอยู่เบื้องหลังกี่คน"

เรื่องทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องจริงที่ทุกคนควรรับรู้เพราะเป็นเรื่องจริง
กว่าศิลปินจะดังได้หรือจะมีคอนเสิร์ตได้มีคนเบื้องหลังจำนวนมากช่วยเหลืออยู่ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องเกิดจากการลงทุนของค่าย ในขณะที่ศิลปินจะดังได้ก็ต้องมีความสามารถหลายอย่างไม่ว่าจะร้องเพลงแต่งเพลงหรือเล่นดนตรี

ทุกวันนี้มันน่าประหลาดที่ ค่ายก็เริ่มไม่กล้าลงทุนปั้นศิลปินเพราะกลัวศิลปินย้ายค่าหรือเอกไปทำเอง
ส่วนศิลปินดีดีหลายคนก็ไม่อยากเข้าค่ายเพราะกลัวว่าต้องเป็นทาส ของค่ายเพลงไปตลอด

เรื่องนี้แก้ปัญหาได้ไม่ยากคือการแบ่งเงินให้กันตลอดไปตลอดชีวิตของศิลปินนั้นๆ
ให้สิทธิในการร้องเพลงของทั้งสองฝ่ายแต่เมื่อหมดสัญญากับศิลปินแล้ว ศิลปินควรจะมีสิทธิจะร้องเพลงตัวเองได้
แต่การทำธุรกิจทุกครั้งค่ายจะได้รับส่วนแบ่งกลับเสมอ ผมว่าวิธีนี้fairดีแต่อาจจะต้องหาmodelสัดส่วนการแบ่งเงินที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม โดยส่วนตัวผมว่าศิลปินควรแบ่งเงินกลับมาที่ค่ายในสัดส่วนที่มากพอสมควรทีเดียว
ไม่ใช่แบ่งกลับมา10-20% เพราะจริงๆแล้วการปั้นศิลปินคนนึงจะต้องใข้investmentที่สูงมากทีเดียว

ความน่าสนใจและทิศทางของวงการเพลงไทย


ความน่าสนใจและทิศทางของวงการเพลงไทย
ทุกวันนี้ยอดดาวน์โหลดของธุรกิจมือถือตกมากซึ่งมันก็แหง๋
เพราะบางบริษัทไปฝากขีวิตอยู่กับยอดการโหลดring backtone เสียงรอสาย
ซึ่งมันเป็นเพียงproductนึงในตลาดที่มีวันขึ้นและลงหาได้มีคุณค่าทางการนำเสนอเนื้อหาเพลงมาก
พอคนเบื่อจะจ่ายเงินกับเสียงรอสาย ก็เริ่มเกิดอาการเครียดกับธุรกิจ
เพราะการเน้นที่เสียงรอสายทำให้การสร้างศิลปินที่เป็นคนที่คนทั่วไปชื่นชมเป็นidolมันไม่มี
เหลือเป็นเพียงการทำเพลงอย่างไรก็ได้ให้คนโหลดเพื่อรอสาย
พอวันนี้ที่ยอดดาวน์โหลดเพื่อเสียงรอสายมันตกเราก็เต้นแร้งเต้นกา

การทำศิลปินไม่ว่ายุคใดก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ดนตรีคืองานศิลปะ และงานศิลปะจะมาพร้อมศิลปินผู้สร้างเสมอ
คนที่ชื่นชมและสนับสนุน จะต้องชอบทั้งผลงานและตัวตน
การสร้างศิลปินจึงจำเป็นจะต้องสร้างทั้งตัวตนศิลปินและผลงานศิลปิน

เราจะอยากดูคอนเสิร์ตเพราะเราได้สัมผัสศิลปินและผลงานเค้าแบบสดๆ
ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งแล้ว มันก็จะไม่สามรถเกิดคอนเสิร์ตขึ้นได้เลย

ทุกวันนี้ศิลปินน้อยลงเต็มทีค่ายใหญ่หลายค่ายสร้างแต่เพลงไม่เน้นศิลปินหรือนั้นบางค่ายพยายามปั้น
แต่ดังแค่เพลงสองเพลงทำให้ความเป็นตัวตนของศิลปินหายไปมากยากที่จะทำคอนเสิร์ตเป็นของตนเองสักอัน

ส่วนคนฟังทุกวันนี้ฉาบฉวยอะไรในขีวิตมันเยอะไปหมดเพลงก็หามาได้ง่ายๆไม่มีมูลค่า
ฟังเร็วก็เบื่อเร็วและเพลงมันก็เยอะมากในตลาด ทำให้ความตราตรึงกับเพลงน้อยและ
ย่อมส่งผลให้ความตราตรึงในศิลปินต่ำลงเช่นกัน


วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

Concertคืออะไร

การทำคอนเสิร์ต คืออะไร การทำคอนเสิร์ตจริงๆมันไม่ยาก คือเราต้องตอบโจทย์ของความคาดหวังที่เราสร้างขึ้นให้เกิดขึ้นกับคนดู และต้องตอบให้ถูกต้อง เพียงแค่นั้นก็ได้คอนเสิร์ตที่ดี ซึ่งก็อาจจะดีกว่านั้นได้อีกถ้าคนดูได้สิ่งที่เกินความคาดหวัง ทุกวันนี้ผมทำคอนเสิร์ตมามากมาย ก็ยังแปลกใจที่คนทำคอนเสิร์ตจำนวนมากโดยเฉพาะคนใหม่ๆและคนที่มาจาก สายอื่นๆเช่นสายevent สายproductionที่ยังมีความเข้าใจในคอนเสิร์ตน้อยมาก จนทำให้ผมงงว่าบางทีเรากำลังทำอะไรอยู่ คอนเสิร์ตไม่ใช่eventที่ต้องเน้นที่ความแปลกไม่เคยเห็นมาก่อนไม่เคยมีใครทำมาก่อนเพื่อให้เป็นที่จดจำ คอนเสิร์ตไม่ใช่equipment display ที่จะมาแสดงแสนยานุภาพของproduction คอนเสิร์ตไม่ใช่show ที่คนจะมาเสพเพียงเนื้อหาความสนุกของshow คอนเสิร์ตไม่ใช่ละครเวทีที่จะโครงหลักคือเรื่องหรือคอนเซปแล้วคนดูก็จะมาเสพ พื้นฐานของคอนเสิร์ตคือความคลั่งไคล้ของแฟนๆศิลปินที่จะมาชื่นชมศิลปินของเค้าแสดงความสามารถสดๆให้ดู คล้ายๆอะไรที่เรียกว่า"ศิลปินพบประชาชน" ทุกวันนี้คอนเสิร์ตได้เปลี่ยนรูปแบบไปมาก. ในหลายครั้งการผสมshowเข้ากับคอนเสิร์ตก็ทำให้เกิดอรรถรสที่ดีน่าสนใจมากกว่าคอนเสิร์ตทั่วไป ในหลายครั้งที่แสนยานุภาพของproduction ได้ช่วยให้คอนเสิร์ตดูสนุกขึ้นมาก แต่ข้อสังเกตุของผมในช่วงหลังคือคนทำงานหลายคนขาดความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของคอนเสิร์ตไปมาก จนหลายครั้งผมเห็น(รวมถึงได้ทำงาน) กับคอนเสิร์ตที่มีความบิดเบี้ยวทางการนำเสนอสารสู่คนฟัง ซึ่งการบิดเบี้ยวนี้ส่วนใหญ่เกิดจากคนทำคอนเสิร์ตมีความเข้าใจคนดูที่ผิดไปว่าเค้ามาดูเพราะอะไร เมื่อเราเข้าใจคนดูผิดไป เราก็จะส่งสารที่ผิดให้กับคนดู ผมเป็นคนที่โตมาจากสายproduction เคยคิดว่าproductionคือความสำคัญมากสุดๆ (เราคงเคยได้จังหวะที่ไฟสาดออกจากเวทีจำนวนมากจนสาดเข้าตาเราจนมองไม่เห็นอะไรบนเวที นั่นเพราะคนทำไฟอยากให้เรามองไฟ แต่นั่นคือสิ่งที่เราซื้อบัตรมาดูใช่หรือไม่ หรือเราอาจเคยดูคอนเสิร์ตในทีวีที่ถ่ายแต่ภาพกว้างๆตลอดเวลาเพื่อให้ดูกราฟฟิกและแสงไฟที่แสนอลังการ เพียงเพราะคนทำอยากให้รู้ว่าเราทำกราฟฟิกสวยและลงทุนแสงไปเยอะ แต่นั่นคือเนื้อหาของคอนเสิร์ตที่เราอยากจะดูอย่างงั้นหรือ) แต่จริงๆแล้วproductionมันเป็นเพียงเครื่องตกแต่งจานอาหาร ไม่ใช่เนื้ออาหารแต่อย่างใด การทำงานมาหลายปีและทำงานกับผู้จัดหลายคนทำให้ได้เรียนรู้ว่าเราควรตกแต่งจานอย่างเหมาะสม (หลายครั้งที่ผมเองก็ลืมตัวตกแต่งมากเกินไป) และการทำงานกับผู้จัดหลายๆคนก็เลยทำได้ชิมเนื้ออาหารหลายหลากรสชาติ มีทั้งอร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง แต่ก็ทำให้เข้าใจในธุรกิจและธรรมชาติของธุรกิจนี้อีกเยอะ ที่เขียนมาเพราะช่วงนี้ได้พบเห็นและมีส่วนร่วมงานหลายอันที่เน้นการทำproduction ให้คนดูเห็นproductionที่อลังการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดที่เราจะตกแต่งจานอย่างสวยงามอลังการ เพราะมันคือกำไรของคนดูเพียงแต่ผมแอบแปลกใจที่หลายครั้งเราลืมสนใจเนื้ออาหารไปว่าเค้าทำอะไรให้ทาน เราตกแต่งมันเข้ากับอาหารนั่นมั้ย ผมเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าเราจะทำproductionได้ถ้าเราไม่ได้รู้และเข้าใจรูปแบบคอนเสิร์ต เราจะออกแบบเวทีได้อย่างไรถ้าเราไม่ทราบสารที่คอนเสิร์ตจะสื่อถึงคนดู หลายครั้งผมเจอศิลปินมีความเป็นตัวเองสูง ไม่ยอมอะไรง่ายๆ จู้จี้และมีทิฐิ แต่ผมกลับเข้าใจคนเหล่านั้นอย่างมากเพราะเค้าเนื้ออาหาร คนดูมาทานเค้า ถ้าเค้าไม่มั่นใจว่าอร่อย จะให้เค้าปล่อยได้อย่างไร หน้าที่ของเราคือทำให้เค้ามั่นใจและแสดงศักยภาพของเค้าได้อย่างเค็มที่ ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะเห็นตลาดของshowในรูปแบบคอนเสิร์ตมันเริ่มผิดเพี้ยนไป มันอาจจะไม่ใช่เรื่องผิดแต่การทำแบบนี้บ่อยๆผมว่าบางทีมันทำให้คนดูกลับหลงทาง อาจส่งผลไปกับการเบื่อการดูคอนเสิร์ตไปเพราะเราสื่อสารที่ผิดกับความคาดหวังของคนดู ทุกวันอยากเห็นคอนเสิร์ตที่เปลี่ยนรูปแบบไปในมุมเชิงพัฒนามากกว่ามุมแห่งความแปลก ผมว่ามันยังมีอีกหลากหลายด้านของไทยที่ยังต้องพัฒนาไปอีก....