วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

(How to)วิธีการดูงานออกแบบ และงานศิลปะ

ทุกวันนี้ผมเหนื่อยกับการบริหารงานและพัฒนาทีมงานมากๆ
บางทีก็รู้สึกเหนื่อยและเครียดจนอยากกลับไปเกาะแม่กิน
(อาชีพในฝันของหลายๆคน)
ทุกวันนี้ มันเหมือนเราต้องเป็นคุณครู และผู้ปกครองในเวลาเดียวกัน (เนื่องจากทีมงานเด็ก และยังไม่มีประสิทธิภาพ เท่าที่ควรจะเป็น)
ทุกคนต่างมีจุดอ่อนจุดบกพร่องที่ต้องปรับปรุงกันไป
เพื่อให้พัฒนาการความสามารถในการออกแบบ
ผมว่าเราควรดูงานให้เป็น(น้องที่office ผม ดูงานไม่เป็น สักแต่ว่าดูซะส่วนใหญ่)
การดูงานออกแบบ ถ้าจะดูเพื่อศึกษาและพัฒนาตัวเอง
ผมเลยลองเขียนวิธีดูงานให้เกิดประโยชน์กับนักออกแบบขึ้นมา
เผื่อใครที่ได้มาอ่านจะได้รู้จักวิธีวิเคราะห์งาน เพื่อนำมาเป็นcase study ให้ตัวเอง และสามารถที่จะวิเคราะห์งานของตนเองได้ด้วย
จริงๆการดูงานออกแบบมันมี2ระดับ ขอเริ่มที่ระดับพื้นฐาน
ซึ่งในระดับพื้นฐาน ผมขอแบ่งออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้

1. Function aspect
ศึกษาการทำหน้าทีของงานออกแบบ
ในแง่มุมนี้ ไม่ว่าเราจะดูงานประเภทใด จะเป็นงานproduct, graphic, motion graphic และอาจครอบคลุมไปถึง งานarchitect จนถึงงานfine art (แต่งาน fine art จะพบว่าfunction aspect ต่ำมาก จนบางทีเรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้)
เราต้องดูว่างานนี้มีโจทย์ที่ต้องการจะนำเสนออะไร
แล้วมันทำงานได้ถูกต้องตามโจทย์รึเปล่า
เช่นรถยนต์มันขับได้ดีมั้ย ตามที่มันควรมั้ย หรือ print ad อันนี้มันส่งข้อความที่ถูกต้องตามโจทย์มั้ย
อาคารนี้มีหน้าที่ใช้สอยได้ตามโจทย์หรึอยัง motion graphicในconcertนี้ส่งเนื้อหาเหมาะสมกันเพลงแค่ไหน อะไรทำนองนี้
ถ้าพิจารณากันอย่างละเอียด เราก็จะเข้าใจได้ว่างานเหล่านี้มันทำหน้าที่หลักได้สมบูรณ์รึยัง
ซึ่งfunctionเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะให้ผู้ชมผู้ใช้ ชื่นชอบงานของเรา
ซึ่งข้อนี้เป็นข้อมาตรฐานที่ต้องผ่าน (ซึ่งหลังๆผมพบว่าเด็กสมัยใหม่กลับตกข้อนี้บ่อยครั้ง
เพราะเค้ามักเข้าใจว่า งานแปลกคืองานที่ดี ทั้งๆที่มันคืองานที่ผิดแต่เค้ากลับคิดว่าดีเพราะมันแปลก)

2. Techinique aspect
ในแง่นี้ จะเป็นการศึกษางานในด้าน technique ว่ามันมีอะไรน่าสนใจ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมผูัใช้
อย่างเช่นภาพนี้ มันใช้techniqueอะไร เค้าทำขึ้นมาอย่างไร ด้วยวิธีการใด
(ในงานบางงานจะพบความน่าสนใจจากTechnique แต่อาจจะนำมาใช้ผิดfunction ซึ่งสิ่งเหล่านี้
มักทำให้นักออกแบบหลงทางคิดว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่จริงๆมันผิด เพราะมันตกข้อfunction )
แต่อย่างไรก็ตามการศึกษางาน เกี่ยวกับtechnique ควรดูงานให้เข้าใจจนถึงขั้นว่าเค้าทำได้อย่างไร
ใช้techniqueแบบไหน กระบวนการทำ หรือการคิดเป็นอย่างไร แล้วจดจำไว้ จนถึงวันที่
งานที่เราต้องทำมันเหมาะกับการใช้techniqueเหล่านั้นจึงนำออกมาใช้

3. Aesthetic aspect
Aesthetic aspectคือการสื่อสารออกมาด้วยมุมมองในด้านความงาม มักจะเป็นมุมมองที่ค่อนข้างpersonal แต่จะวัดผลจากการตอบรับของผู้ใช้ว่าชอบหรือไม่
ถ้าความงามบางรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากเข้า มันจะกลายเป็นTrend ไปทันที
การศึกษาด้่านความงามที่ดีจะต้อง ศึกษาให้สัมพันธ์กันเรื่องอารมณ์เป็นหลัก
ว่าความงานนี้สะท้อนอารมณ์แบบไหน ซึ่งการสะท้อนอารมณ์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเวลาด้วย
เช่นการใช้ลวดลายทหารในบางครั้งอาจจะสะท้อนถึงความเท่ห์ หรือบางเวลาอาจจะสะท้อนถึงความโหดร้าย ขึ้นอยู่กันช่วงเวลา และการใช้งาน
(ในข้อนี้ก็เช่นกัน ผมพบนักออกแบบจำนวนมากที่หลงทางไปกับ trend จนตกในข้อFunction
และเข้าใจผิดเสมอว่า งานของคนอื่นๆไม่สวย ไม่ดี ทั้งๆที่จริงความสวยมันคือความเหมาะสม)

4.Idea aspect
แง่มุมนี้มักเป้นแง่มุมที่ นักออกแบบสมัยใหม่ชอบนำมาใช้
เป็นแง่มุมที่ทำให้งานมีเสน่ห์ และแตกต่าง ซึ่งในงานชิ้นหนึ่งๆ นั่นไม่มีความจำเป็นต้องมี idea
แต่เมื่อไหร่ที่มันมีidea มันมักจะพางานออกแบบเหล่านั้นไปสู่สิ่งที่ดีและน่าจดจำกว่า
การมองงานที่มีidea คืองานที่มีความลึก มีความหมายซ้อนทบที่น่าสนใจและตรงโจทย์
(มักจะเห็นได้ในงานโฆษณาที่ส่งประกวด scam ad ทั้งหลาย) อันนี้ก็เหมือนกัน
นักออกแบบหลายคนมักนำมาใช้ผิดๆถูกๆ ใส่ideaผิดที่ผิดทาง ยิ่งทำให้งานมันหลงทางไปกันใหญ่
คือไม่ใส่ซะบางทียังดีกว่า แต่เด็ก(หรือไม่เด็ก)หลายๆคนก็ชอบใส่ideaลงไปเพราะกลัวไม่ใส่แล้วดูโง่
แต่จริงๆ ยิ่งใส่ยิ่งดูโง่ .... เฮ้อ

เมื่อเราเข้าใจใน 4 ข้อนี้แล้ว เราก็สามารถดูงานออกแบบเป็น
ก็คือเมื่อเราเห็นงานใดๆ ก็จงวิเคราะห์ให้ดีว่ามันมีความน่าสนใจในหัวข้อไหน
หัวข้อไหน มันทำได้ไม่ดี เช่นมันตอบโจทย์มั้ย techniqueมันน่าสนใจมั้ย สวยมั้ย
Idea ดีมั้ย เมื่อเห็นว่าข้อไหนมันดี ก็จงพิจารณาต่อว่ามันดียังไง มันทำมาได้ยังไง
มันถูกคิดด้วยกระบวนการอะไร techniqueดีดีนี้มันทำอย่างไร
เมื่อเราเข้าใจถึงที่มา เราก็จะสามารถนำไปใช้กับงานของเราอย่างเหมาะสม
ซึ่งถ้าเราเข้าใจถึงวิธีการดูงานอย่างถ่องแท้ เราก็ไม่จำเป็นต้องดูงานเยอะ
แค่ขอให้ดูอย่างเข้าใจและเกิดประโยชน์

4 ข้อที่กล่าวมาคือวิธีการวิเคราะห์งานออกแบบชิ้นหนึ่งๆ
ซึ่งเป็นเพียงวิธีพื้นฐาน เพราะอีกระดับของการวิเคราะห์ที่จะกล่าวต่อไปคือการวิเคราะห์
ในระดับโจทย์ ซึ่งต้องมีมุมมองมากกว่าการมองแค่งานออกแบบ
แต่ต้องเข้าใจให้ลึกไปถึงการตลาด การหาข้อมูลเชิงลึก และความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งผมขอเรียกว่า เป็นการศึกษาในมุม conceptual
หรือ Branding Aspect
ซึ่งถ้าเราเข้าใจสิ่งนี้เราจะมีวิเคราะห์งานที่เราศึกษาได้อย่างชัดเจน
และมีบทสรุปให้กันงานที่เราศึกษาว่าดีหรือไม่
ได้อย่างถูกต้องของเสมอ
ซึ่งหัวข้อนี้ จะเขียนในบทความต่อไปละกัน

ไม่มีความคิดเห็น: