วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Business partner VS Brand Partner

หัวข้อนี้มันก็คงเกี่ยวกับเรื่อง brand ซึ่งเป็นส่วนที่ผมสนใจอยู่มาก เรื่องว่าเชื่อเลยก็ได้
เรื่องของเรื่องเริ่มจากว่า เมื่อสักสัปดาห์ก่อน ผมได้ไปนั่งกินกาแฟที่Starbucks สยาม
(สาขาที่share พื้นที่กับK BANK) ก็ได้เจอพนักงานที่เคยประจำอยู่ที่สาขาAll season
ย้ายมา ก็เลยได้ทักทายกัน ผมถามว่า ย้ายมานานแล้วเหรอ เค้าบอกว่า ก็สักพัก แต่เดือนหน้าที่นี่
ก็จะปิดแล้ว ผมก็เลยเอ๊ะใจ ลองถามว่า K Bankจะเอาคืนละสิ เค้าก็ตอบว่า "ใช่ครับ"

ก็เลยทำให้ผมวิเคราะห์เรื่องนี้ขึ้นมา
มองไปรอบๆ คนก็เยอะอยู่ แต่ปํํญหาที่เกิดคือ ผมว่าK bank รู้สึกได้ว่ามันไม่คุ้มเลย
เพราะตัวBankได้ประโยชน์น้อยมากจากการทำ ฺ Business partner กันแบบนี้
เพราะ เมื่อเป็นbusiness partnerกันก็ส่งผลให้มีbrand image มีความสัมพันธ์ต่อกัน
ตอนแรกที่รวมกัน เชื่อว่าKbankคงต้องการที่พักสำหรับคนมาทำธุรกรรมทางการเงิน
และต้องการยกระดับ Brand K bank โดยไปผูกกับ Global brandที่ร้อนแรงอย่างStarbuck
หรือไม่เค้าอาจจะคิดว่าBrand K bank กับ Starbucks อยู่ระดับใกล้เคียงกัน
ไม่ว่าจะอย่างไรก็แล้วแต่ การปิดของร้านstarbuckในครั้งนี้ก็ได้พิสูจน์ถึง
การคิดเรื่องBrandingแบบผิวๆ ของTeam K bank

เพราะผมเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่าง จะไปด้วยกันได้ ยังไงก็ต้องเริ่มจากการมีobjectiveเดียวกัน
คนสองคนจะอยู่ด้วยกันได้ตลอดรอดฝั่ง ทั้งสองคนต้องมีจุดหมายปลายทางเดียวกัน
คนเป็นอย่างไร Brand ก็เป็นเช่นนั้น
เมื่อฝั่งนึงต้องการขายกาแฟ แต่อีกฝั่งต้องการใช้เป็นแค่support ของBrandตัวเอง
ทีนี้ก็ต้องมาดูกันว่า Brand ไหนแข็งแรงกว่า (ณ ที่จุดขายนั้น)
ท้ายสุด Starbucks ก็เป็นผู้ชนะ เพราะคนที่มาที่นั้น กว่า70-80% มาเพื่อนัดพบ พักผ่อน
และทานกาแฟ มิใช่มาทำธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใด
K bank อาจจะคิดว่าstarbuckเอาหน้าร้านด้านล่างเยอะไปจึงdevelopให้ มีพื้นที่ของธนาคารมาครึ่งนึง
แต่ท้ายสุด ก็พบว่านั่่นไม่ใช่ทางแก้ปัญหา เพราะBrand Starbucks (ณ จุดนั้น) แข็งแรงกว่าK bank
เป็นอย่างมาก ท้ายสุด K bankกลับกลายเป็นโดนกลืนไปหมด (ถ้าkbankไปpartner กับ กาแฟ local
ยี่ห้ออื่นผลลัพท์ก็อาจจะไม่เป็นเช่นนี้ก็ได้)
แสดงให้เห็นถึงการทำ Business partner ที่ไม่ได้พิจารณา เรื่องobjective และ branding กันดีดี
ท้่ายสุดก็ต้องแยกจากกันไป แบบเสียเวลาทั้งคู่นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น: